|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง "ห้วยบง 60"
แก่ผู้แทนสมาคมมันสำปะหลัง |
|
|
สมเด็จพระเทพรัจนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานชื่อพันธุ์ "ห้วยบง 60 "
ห้วยบง หมายถึง ที่ตั้งสถานที่หลักในการพัฒนาพันธุ์ คือ สถาบันพัฒนา มันสำปะหลัง ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
60 หมายถึง การครบรอบ 60 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ |
|
ประวัติความเป็นมา |
มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นผลงานร่่วมพัฒนากว่า 10 ปี ระหว่าง มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์กับมูลนิธิสถาบันฯ เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 กับพันธุ์ระยอง 5 ในปี 2534 และได้ทำการคัดเลือก ทดสอบ เปรียบเทียบพันธุ์ จนถึงปี 2544 ได้รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2548 |
|
ลักษณะเด่น |
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5.7 ตัน/ไร่ และปริมาณแป้งสูง เฉลี่ยแป้งในหัวสด 25.5% แป้งมีความหนืดสูงเหมาะสำหรับนำไปใช้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลายชนิด ท่อนพันธุ์
แข็งแรง เปอร์เซนต์ความงอกและความอยู่รอดสูง ต้านทานโรคใบจุดปานกลาง
|
|
ข้อเสนอแนะในการปลูกพันธุ์ "ห้วยบง 60" |
1. ควรทดสอบปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ดีอื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ หากได้ผลพอใจจึงปลูกขยาย พันธุ์นี้ในปีต่อไป
|
2. ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุไม่น้อยกว่า 10 เดือน |
3. การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง ควรเอาใจใส่ตั้งแตใน่เบื้องต้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการคัดเลือกท่อนพันธุ์ที่จะปลูกควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มีอายุ 8 - 14 เดือน และมีความ อุตมสมบูรณ์โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 2 ซม. และควรใช้เฉพาะส่วนกลางของ ลำต้น ไม่ควรใช้กิ่งหรือโคนปลูก |
4. การปลูกมันสำปะหลัง หากสามารถปลูกให้มีความอยู่รอดได้สูง โอกาสที่จะได้รับ ผลผลิตสูงก็มีมากตามไปด้วย |
5. พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ห้วยบง 60" ที่ได้รับไป ควรปลูกภายใน 15 วัน |
6. หากจำเป็นต้องเก็บต้นพันธุ์ไว้ ควรวางกองไว้กลางแจ้ง ให้ส่วนโคนของต้นพันธุ์ สัมผัสผิวดินหรือพูนดินกลบโคนต้นรอบกอง แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 30 วัน |
7. การเก็บรักษาท่อนพันธุ์แต่ละปี ไม่ควรขุดเก็บเกี่ยวมันฯในแปลงทั้งหมด แต่ควร เหลือต้นพันธุ์ไว้ (ไม่ขุด) ให้มีจำนวนต้นพันธุ์ที่เพียงพอกับการปลูกในพื้นที่ เมื่อเตรียมดิน พร้อมแล้ว จึงตัดต้นที่เหลือไว้ปลูก |
|
|
ลำต้น สีลำต้นมีสีเขียวเงิน |
สีของเนื้อหัว สีขาว |
|
|