มันสำปะหลังเป็นพืชที่เก็บสะสมอาหารไว้ในราก เมื่อพืชมีการสร้างอาหารจาก ใบและส่วนที่ เป็นสีเขียวแล้ว จะสะสมในรูปของคาร์โบไฮเดรต คือ แป้งไว้ในราก ความสามารถในการ สร้างและสะสมแป้งในรากมีความแตกต่างกันบ้าง เนื่องมาจาก พันธุ์ของมันสำปะหลัง อายุเก็บเกี่ยว ปริมาณน้ำฝนในช่วงแรกก่อนการเก็บเกี่ยว และปัจจัยอื่น ๆ จึงทำให้ส่วนประกอบของหัวมันอาจจะแตกต่างกันไป โดยทั่วไปหัวมัน สำปะหลังที่มีอายุ 12 เดือน ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนเพียงพอ และไม่มีฝนตกชุกขณะ เก็บเกี่ยว จะมีส่วนประกอบแสดงได้ดังนี้ |
องค์ประกอบในหัวมัน |
ปริมาณ (ต่อ 100 กรัมน้ำหนักหัวมัน |
น้ำ |
60.21-75.32 |
เปลือก |
4.08-14.08 |
เนื้อ (แป้ง) |
25.87-41.88 |
ไซยาไนด์ (ppm) |
2.85-39.27 |
|
องค์ประกอบในเนื้อมัน |
ปริมาณ (ต่อ100 กรัมน้ำหนักแห้งเนื้อมัน |
แป้ง |
71.9-85.0 |
โปรตีน |
1.57-5.78 |
เยื่อใย |
1.77-3.98 |
เถ้า |
1.20-2.80 |
ไขมัน |
0.06-0.43 |
คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง |
3.59-8.66 |
|
จะเห็นว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่ในรากนั้น นอกจากน้ำแล้วคือแป้ง ซึ่งมีถึง
ร้อยละ 70-80 จึงถือว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลัง งานกับคนและสัตว์ได้ดีที่สุด โดยปกติ หัวมันสำปะหลังที่มีปริมาณแป้งสูง ปริมาณน้ำ จะน้อยและความหนาแน่นของหัวจะมีสูง ฉะนั้น ในการตรวจสอบหรือวัดปริมาณแป้ง (เชื้อแป้ง) อย่างเร็วที่นิยมทำกัน คือ การตรวจสอบ ความหนาแน่น โดยการชั่ง น้ำหนักหัวมันในน้ำ ถ้าน้ำหนักหัวมันในน้ำน้อย แสดงว่า หัวมันมีปริมาณน้ำมาก และมีแป้งน้อย ในกรณีกลับกันถ้าน้ำหนักหัวมันในน้ำมากก็แสดงว่า หัวมันมีปริมาณน้ำ น้อยและมีแป้งมาก
|